เมนู

5. น วากฺกรณมตฺเตน วณฺณโปกฺขรตาย วา
สาธุรูโป นโร โหติ อิสฺสุกี มจฺฉรี สโฐ.
ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ มูลฆจฺจํ สมูหตํ
ส วนฺตโทโส เมธาวี สาธุรูโปติ วุจฺจติ.

"นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด
จะชื่อว่าเป็นคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน
หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่, ส่วนผู้ใดตัดโทส-
ชาติ มีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้ราก
ขาด, ผู้นั้นมีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า
'คนดี."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วากฺกรณมตฺเตน ความว่า เพราะ
เหตุสักว่าทำการพูด คือสักว่าถ้อยคำอันถึงพร้อมด้วยลักษณะ. บทว่า
วณฺณโปกฺขรตาย วา คือ เพราะความเป็นผู้ยังใจให้เอิบอาบโดยมีสรีระ
สมบูรณ์ด้วยวรรณะ. บทว่า นโร เป็นต้น ความว่า นระผู้มีใจริษยาใน
เพราะลาภของคนอื่นเป็นต้น ประกอบด้วยความตระหนี่ 5 อย่าง1 ชื่อว่า
ผู้โอ้อวด เพราะคบธรรมฝ่ายข้าศึก จะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุเพียงเท่านี้
หามิได้.
สองบทว่า ยสฺส เจตํ เป็นต้น ความว่า ส่วนบุคคลใดตัดโทสชาต
1. ตระหนี่ 5 อย่าง คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล. ลาภมัจฉริยะ
ตระหนี่ลาภ. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม.

มีความริษยาเป็นต้นนี่ได้ขาดแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ ถอนขึ้น ทำให้
รากขาดแล้ว, บุคคลนั้นมีโทสะอันคายแล้ว ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรือง
ในธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " คนดี."
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
เรื่องภิกษุมากรูป จบ.

6. เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ [199]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อ
หัตถกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น มุณฺฑเกน สมโณ " เป็นต้น.

พระหัตถกะพูดอวดดี


ได้ยินว่า ภิกษุนั้นพูดฟุ้งไป กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายพึงไปสู่ที่
ชื่อโน้น ในกาลโน้น, เราจักทำวาทะ" แล้วไปในที่นั้นก่อน กล่าวคำ
ทั้งหลายเป็นต้นว่า " ดูเถิดท่านทั้งหลาย, พวกเดียรถีย์ไม่มาเพราะกลัวผม,
นี่แหละเป็นความแพ้ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น" เที่ยวพูดฟุ้งไป กลบ-
เกลื่อนคำอื่นด้วยคำอื่น.

ลักษณะสมณะและผู้มิใช่สมณะ


พระศาสดาทรงสดับว่า "ได้ยินว่า ภิกษุชื่อหัตถกะทำอย่างนั้น"
แล้วรับสั่งให้เรียกเธอมา ตรัสถามว่า " หัตถกะ ได้ยินว่าเธอทำอย่างนั้น
จริงหรือ ?" เมื่อเธอกราบทูลว่า " จริง," จึงตรัสว่า "เหตุไฉน เธอจึง
ทำอย่างนั้น ? ด้วยว่าผู้ทำมุสาวาทเห็นปานนั้น จะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะ
เหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้นหามิได้; ส่วนผู้ใด ยังบาปน้อยหรือ
ใหญ่ให้สงบแล้วตั้งอยู่ ผู้นี้แหละชื่อว่าสมณะ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า:-
6. น มุณฺฑเกน สมโณ อพฺพโต อลิกํ ภณํ
อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน สมโณ กึ ภวิสฺสติ.